ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายหรือไม่ ถ้าตำรวจไทยเจอต้องทำอย่างไรที่มาของภาพ, Getty Imagesคำบรรยายภาพ, ในจีนและไต้หวัน บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งไม่ผิดกฎหมาย1 กุมภาพันธ์ 2023, 10:20 +07ข่าวตำรวจรีดไถเงิน อัน อวี๋ฉิง ดาราสาวไต้หวัน ช่วงที่เธอเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ด้วยข้ออ้างว่า เธอพกบุหรี่ไฟฟ้า แต่กลับกลายเป็นการเรียกรับเงิน 27,000 บาท แต่ไม่ได้ออกใบสั่งปรับข้อหาครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าแต่อย่างใด ทำให้สังคมตั้งคำถามว่า การถือครองบุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฎหมายหรือไม่
“เพื่อนของฉัน (คนสิงคโปร์) พอรู้ภาษาไทย เลยไปคุยกับตำรวจ ฉันอยู่ตรงนั้นตลอด แต่ฉันไม่ค่อยเข้าใจภาษา เพื่อนฉันบอกว่า ตำรวจต้องการเงิน 27,000 บาท” แต่สิ่งที่ อัน อวี๋ฉิง หรือ ชาลีน อัน ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทย พร้อมเสริมว่า เมื่อให้เงินไปแล้ว กลับกลายเป็นว่า ตำรวจนำบุหรี่ไฟฟ้ามายัดใส่มือเธอแล้วถ่ายรูป
“ฉันไม่มีบุหรี่ไฟฟ้าอยู่กับตัวเวลานั้น คนอื่นมีหรือเปล่าฉันไม่รู้…แล้วฉันก็พิสูจน์ไม่ได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้านั่นไม่ใช่ของฉัน เพราะตำรวจลบภาพและวิดีโอไปหมด”
“สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากเรื่องนี้ คือ ฉันต้องให้ความร่วมมือ … เราอาจกระทำอะไรผิดพลาดไปโดยไม่ตั้งใจก็ได้ แต่ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยี ทำไมตำรวจไม่ใช้ Google Translate ช่วยแปลภาษา ทำไมไม่ออกใบสั่งมาอย่างถูกต้อง”
“ฉันไม่ใช่วีรสตรี ไม่ได้อยากสู้กับตำรวจไทย”สรุปดรามาดาราสาวไต้หวันถูกตำรวจรีดไถเงิน 27,000 บาท ประกาศ “ไม่เหยียบไทยอีก”เที่ยวแบบ VVIP : ปมจ้างตำรวจไทยนำขบวน นทท. จีน สะท้อนภาพปราบโกงล้มเหลวหรือไม่ตอนนี้ กองบังคับการตำรวจนครบาลได้สั่งสอบสวนทางวินัยและคดีอาญา ข้าราชการตำรวจ 7 นาย ฐานไม่บังคับใช้กฎหมายอาญา มาตรา 157 คือ “เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต” ว่าด้วยการไม่จับกุมกรณีถือครองบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่การรีดไถเงินนักท่องเที่ยวเบื้องต้น ได้ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ ศูนย์ปฏิบัติการกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 โดยขาดจากตำแหน่งเดิม 7 นายด้วยกัน บีบีซีไทยตรวจสอบข้อกฎหมายต่าง ๆ ทั้งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้บริโภค, พ.ร.บ.ศุลกากร, และประกาศกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ยังไม่มีมาตราใดที่กำหนดความผิดฐาน “ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า” โดยตรง แต่ตำรวจและอัยการ สามารถใช้ความผิดจากมาตราอื่น เพื่อดำเนินความผิดผู้ครอบครองได้
กลุ่มผู้สนับสนุนให้เปิดเสรีบุหรี่ไฟฟ้า จึงมองว่า ความกำกวมด้านกฎหมายนี้เอง ที่เปิดช่องให้ตำรวจกระทำการทุจริต เรียกเงินจากประชาชนและนักท่องเที่ยว โดยใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นข้ออ้าง
บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายหรือไม่การจำหน่าย: คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 9/2558 ระบุห้ามขาย ห้ามให้บริการบารากุ บารากุไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า และน้ำยาเติมของทั้งสองชนิด โดยระบุว่าพบสารเคมีที่เป็นอันตรายหลายชนิด รวมถึงการสูบร่วมกันอาจทำให้เกิดโรคติดต่อ ดังนั้น สำหรับผู้ขายนั้น ให้มีความผิดและโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากเป็นผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้ที่นำเข้ามาเพื่อขาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การครอบครอง: ทนายรณรงค์ แก้วเพชร ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า การมีบุหรี่ไฟฟ้าในครอบครอง ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย เพราะเป็นของต้องห้ามนำเข้า ผู้ใดรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่ต้องห้ามนำเข้า มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับ 4 เท่าของราคา พร้อมภาษีที่ยังไม่ได้จ่าย ตามพระราชบัญญัติศุลกากร
การนำเข้า: ประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2557 ให้กรมศุลกากรตรวจจับ หากผู้ใดนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า หรือน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าจะต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 มาตรา 20 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่นำเข้าหรือส่งออก หรือทั้งจำทั้งปรับ
การขาย: ห้ามให้บริการตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2558 ผู้ใดฝ่าฝืนขายบุหรี่ไฟฟ้า จะต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 3) มาตรา 56 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในกรณีที่ผู้นำเข้าและผู้ขายเป็นคนเดียวกัน จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่มาของภาพ, .คำบรรยายภาพ, ภาพที่สำนักข่าวหลายแห่งรายงานว่าเป็นบุหรี่ไฟฟ้า ขณะที่ ชาลีน อัน บอกกับบีบีซีไทยว่า ตำรวจยัดบุหรี่ไฟฟ้าให้เธอ ก่อนบันทึกภาพการสูบในที่สาธารณะ: มีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
การครอบครอง:
หากพบบุคคลใดว่าครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า ตำรวจสามารถใช้มาตรา 246 ว่าด้วย ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ ซึ่งของที่รู้ว่าเป็นความผิดตามมาตรา 242 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ 4 เท่าของราคาของ หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้น การนำเข้า การผลิต การจำหน่าย ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายชัดเจน แต่ส่วนของผู้ครอบครองและใช้บุหรี่ไฟฟ้า แม้จะไม่มีความผิดโดยตรง แต่ก็จะเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 246 ตามดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย
นานาประเทศ บุหรี่ไฟฟ้าถือว่าถูกกฎหมายเว็บไซต์ OkVape รวบรวมประเทศที่บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่อาจมีข้อจำกัดตามแต่กฎหมายของประเทศต่าง ๆ โดยปัจจุบัน มีราว 50 ประเทศ/ดินแดน ที่บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย รวมถึง ญี่ปุ่น อิตาลี นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก จีน แคนาดา ฝรั่งเศศ เกาหลีใต้ และไต้หวัน
ส่วนประเทศที่มีข้อจำกัดทางกฎหมายที่ต้องตรวจสอบ คือ สหรัฐฯ เพราะแต่ละรัฐมีกฎหมายเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าไม่เหมือนกัน ขณะที่มาเลเซียนั้น บุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นสิ่งผิดกฎหมายตราบใดที่ไม่มีสารนิโคติน
ส่วนประเทศที่บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมาย OKVape ระบุว่า ไทย เป็นหนึ่งใน 26 ประเทศที่กำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชา
สั่งย้าย 7 ตำรวจ เพราะไม่จับบุหรี่ไฟฟ้าวานนี้ (31 ม.ค. 2566) พล.ต.ต.อัฎธพร วงศ์ศิริปรีดา ผบก.น.1 ได้เซ็นคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติราชการ โดยระบุว่า ตามที่ได้ปรากฏการเผยแพร่ภาพวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์ กรณี นักท่องเที่ยวชาวไต้หวันได้ลงข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ ว่า ได้นั่งรถยนต์โดยสารสาธารณะ (แท็กซี่) กับเพื่อน เพื่อเดินทางกลับโรงแรมที่พัก ระหว่างท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ของวันที่ 5 ม.ค. 2566 ประมาณ 02.00 น.
พวกเธอได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ตั้งจุดตรวจหน้าสถานทูตจีนประจำประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ได้เรียกตรวจคันและพบว่ามีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง แล้วเรียกรับเงินสด จำนวน 27,000 บาท แล้วปล่อยตัวไป ไม่ดำเนินคดีตามกฎหมาย
ที่มาของภาพ, Getty Imagesคำบรรยายภาพ, ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ถือว่าบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมาย แต่การบังคับใช้กำกวมกองบังคับการตำรวจนครบาล ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผลการตรวจสอบปรากฏว่า มีมูลเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้เกี่ยวข้องมีการตรวจพบบุหรี่ไฟฟ้า แต่ไม่ดำเนินการตรวจยึดเพื่อตรวจสอบหรือจับกุม ซึ่งเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นคดีอาญาสถานีตำรวจนครบาลห้วยประเทศไทยขวาง ฐานความผิด “เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต” อันเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และกองบังคับการตำรวจนครบาล ได้มีคำสั่งที่ 30/2566 ลงวันที่ 30 มกราคม 2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย เพื่อสอบสวนกรณีดังกล่าว แล้วนั้น
ดังนั้น เพื่อมีให้กระทบต่อการดำเนินการสอบสวนทางวินัยและคดีอาญา รวมถึงมิให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ จึงให้ข้าราชการตำรวจที่ มีรายชื่อดังต่อไปนี้ ปฏิบัติราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 โดยขาดจากตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ตามที่ผู้บังคับการตำรวจนครบาลได้มอบหมาย ประกอบด้วย
ร.ต.อ. ยอดฤทธิ์ ลางดุลเสน รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง
ร.ต.อ. ปฏิภาณ ศิริชัยวัฒนา รองสารวัตรอำนวยการ สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง
ด.ต. อธิเวช จุลพันธ์ ผู้บังคับหมู่ ทำหน้าที่ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง
ด.ต. กฤษฎา คำมะนา ผู้บังคับหมู่ ทำหน้าที่ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง
ส.ต.อ. เฉลิมชัย ศิริวังโส ผู้บังคับหมู่ ทำหน้าที่ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง
ส.ต.อ. วัชรนนท์ ขาวยอง ผู้บังคับหมู่ ทำหน้าที่ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลหัวยขวาง
ส.ต.อ. นันทวัชร์ สุวรรณา ผู้บังคับหมู่ ทำหน้าที่ผู้ช่วยพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง
ที่มาของภาพ, PAตัวแทนกลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า หรือ อีซีเอสที ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก มองว่า กรณีดาราสาวไต้หวันถูกรีดไถเงิน เพราะถูกยัดข้อหาครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า ไม่เหมาะสมและตั้งคำถามว่ามีการทุจริตเรียกรับเงินหรือไม่ การแก้ปัญหาอาจเป็นการให้บุหรี่ไฟฟ้าเป้นเรื่องถูกกฎหมาย “นำขึ้นมาบนดิน”
นายมาริษ กรัณยวัฒน์ หนึ่งในผู้แทนจากกลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ให้สัมภาณ์ไทยรัฐออนไลน์ว่า “การตีความทางกฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า บุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าหลบเลี่ยงภาษี ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่เสียภาษีไม่ได้ เมื่อมีการตีความออกมาในรูปแบบดังกล่าว จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายว่าจะเป็นเรื่องการติดสินบน หรือมีการจับกุมผู้ที่จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า เพราะกฎหมายห้ามไม่ให้นำเข้าตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น แต่ไม่มีความชัดเจนเรื่องความผิดฐานครอบครองและใช้ ก่อนหน้านี้ก็มีอีกหลายเคสที่ถูกเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินหลักหมื่นถึงหลักแสน ทั้งกรณีนักท่องเที่ยวฝรั่งเศส มาเลเซีย อิสราเอล หรือแม้แต่คนไทยกันเอง”
ส่วนกฎหมายในกรณีการถือครองนั้น นายมาริษ มองว่า สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ก็มีการออกประกาศห้ามผลิต ห้ามจำหน่าย และห้ามนำออกให้บริการ ขณะที่ผู้ซื้อยังไม่มีการเอาผิดในด้านของกฎหมาย ตามการตีความโดยกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงทำให้มีความลักลั่นในด้านของการบังคับใช้กฎหมาย